สกุลของทายาท ของ เจ้าพระอัคร์บุตร (บุญมี รามางกูร)

สกุลบุคคละ

สำเนาเอกสารลำดับสายสกุลของนายคำมี รามางกูร อักษรลาว ระบุสกุลตั้งที่เวียงจันทน์โดยย่ำกระหม่อมเวียงจันทน์หมายถึงเจ้าเมืองเวียงจันทน์มอบให้พระอัคร์บุตรแต่ไม่ระบุ พ.ศ. ทายาทบางท่านระบุเพียงตั้งขึ้นที่ประเทศลาวโดยพระอัคร์บุตร บ้างว่าตั้งขึ้นที่อำเภอธาตุพนมสมัย ร.๖ ช่วงตราพระราชบัญญัติขนานนามสกุล ๒๒ มีนาคม ๒๔๕๕ บังคับใช้ ๑ กรกฎาคม ๒๔๕๖[20] บุคคละ (Bhuccala) มาจากบาลีว่า ปุคฺคล ปรากฏในท้ายนามเจ้าพระยาหลวงบุดโคตตะวงสาเสถฐะบัวละพาสูวัณณะไซยะปุคคะละวีเสด (บุดโคด) กวานเวียงพนม ทวดของพระอัคร์บุตร และปรากฏในท้ายนามเจ้าพระยาแสนสีสูวัณณไซยะปุคคะละวีเสด (คำมุก) พี่ชายทวดของพระอัคร์บุตร ทั้ง ๒ เป็นพระราชโอรสสมเด็จพระเจ้าไชยเสฏฐาธิราชที่ ๓ หรือสมเด็จพระเจ้าสิริบุนสานแห่งเวียงจันทน์กับพระนางจันทะมาสเทวีแห่งเมืองโคดตะบอง[21] ถือเป็นสกุลแรกของทายาทขุนโอกาสธาตุพนมและราชวงศ์เวียงจันทน์สายหนึ่ง หลังถึงแก่กรรม พระอุปราชา (เฮือง สกุลเดิมบุคคละ) ผู้น้องเปลี่ยนสกุลบุคคละเป็นรามางกูร ทายาทบางส่วนใช้บุคคละเป็นส่วนน้อย[22]

สกุลรามางกูร ณ โคตะปุระ

รามางกูร ณ โคตะปุระ (Ramanɡkura na Kotapura) ตั้งเป็นกรณีพิเศษสำหรับทายาทสายตรง จดทะเบียนโดยนายเพลิงสุริยเทพ สกุลเดิมรามางกูร บุตรนายสุพรรณ รามางกูร (สกุลเดิมบุคคละ) หลานปู่นายคำมี รามางกูร (ท้าวสุวันนะคำมี สกุลเดิมบุคคละ) เหลนทวดพระอัคร์บุตรกับหม่อมบัวสี (สกุลเดิมสุวันนะพักดี) ณ ที่ว่าการอำเภอเมืองเชียงใหม่ ๕ ตุลาคม ๒๕๕๒ เลขที่ ๓๒๐/๒๕๕๒ คำขอที่ ๕๑๒๐/๒๕๕๒ โดยยื่นหลักฐานวงศ์สกุลแนบท้าย[23] เหตุที่ใช้ ณ โคตะปุระ เนื่องจากพระอัคร์บุตรเคยปกครองข้าโอกาสพระธาตุพนมบริเวณเซบั้งไฟซึ่งเป็นที่ตั้งเมืองสิริโคตะปุระในภาษาบาลีคือศรีโคตรบูรเดิมมาก่อน[24] ปัจจุบันมีผู้ใช้สกุลเพียงท่านเดียว


ก่อนหน้าเจ้าพระอัคร์บุตร (บุญมี รามางกูร)ถัดไป
พระปราณีศรีมหาพุทธบริษัท (เมฆ รามางกูร)ขุนโอกาสเมืองธาตุพนม (ในอารักขาฝรั่งเศส)
พระอัคร์บุตรธาตุพนม
กรมการธาตุพนมและเมืองคำเกิด

หลวงอามาตย์ราชวงษา (อำนาจ รามางกูร)